หนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน
ปัจจุบัน เด็กและเยาวชนไทยยังอ่านหนังสือน้อยกว่าเด็ก และเยาวชนประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ค่อนข้างมาก (สถิติยูเนสโก้ คนไทย 1,000 คน ใช้กระดาษพิมพ์และเขียน 13.1 เมตริกตัน เมื่อเทียบกับคนฮ่องกง, สิงคโปร์ ที่ใช้กระดาษ 1,000 คนต่อ 98 เมตริกตัน) ส่วนหนึ่งอาจเพราะคนไทยจนกว่า แต่ส่วนหนึ่งเพราะคนไทยยังมีนิสัยรักการอ่านน้อยกว่า
โครงการคัดเลือกหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจากโครงการวิจัยคัดเลือกหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายการกระตุ้นให้เด็ก และเยาวชนไทยรักการอ่านหนังสือมากขึ้น และมีคู่มือในการอ่านหนังสือดี การรักการอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองที่สำคัญ ผู้ที่สนใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาน่าจะถือว่า การส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น เป็นกิจกรรมส่วนสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา การรักการอ่านนี้ จะมีผลถึงการปฏิรูปทางความคิด ความอ่านที่จะมีผลต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจสังคมได้ต่อไป
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก
เป็นหนังสือเล่ม ประเภทบันเทิงคดี (นิทาน นิยาย เรื่องสั้น บทกวี) ที่เขียนขึ้นเอง โดยไม่จำกัดยุคสมัย
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเนื้อหาสาระที่ส่งเสริมความเข้าใจชีวิตและสังคม เสริมสร้างภูมิปัญญา จินตนาการ และค่านิยมที่ดี มีศิลปะในการเขียนที่ดี มีความงาม ความไพเราะ ความสะเทือนอารมณ์ อ่านได้สนุกเพลิดเพลิน
มีเนื้อหา ท่วงทำนอง ภาพประกอบที่สามารถสนองความสนใจของนักอ่านกลุ่มเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะสมกับวัย กระตุ้นจินตนาการและการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตและโลกที่ผู้อ่านรู้สึกเชื่อมโยงด้วย
เป็นการวางพื้นฐานในการอ่านวรรณคดีที่เป็นแบบฉบับ (คลาสสิก) ของไทย หรือช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตและสังคมวัฒนธรรมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น
ประกาศวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยเรียงลำดับตามกลุ่มวัย, ประเภทหนังสือ และลำดับตัวอักษรของชื่อหนังสือในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
1.) กลุ่มเด็กวัย 3-6 ปี
กระต่ายน้อยกับหินวิเศษ - สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์
ขอแม่ให้ลูกนก - บุญสม เอรวารพ
ดอกสร้อยสุภาษิตประกอบภาพ - กรมศิลปากร
ต้นไม้ในสวน - ชีวัน วิสาสะ
ปลาบู่ทอง - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ผีเสื้อกับผึ้งน้อย - อำนาจ เย็นสบาย
ฟ้าจ๋าอย่าร้อง - ส.พุ่มสุวรรณ
ยายกะตา - บุญสม เอรวารพ
รถไม้ของขวัญ - อิทธิพล วาทะวัฒนะ
เสือโค - หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา, รัตนา อัตถากร
สำนึกของปลาทอง - วิรุณ ตั้งเจริญ
หนูมากับหนูมี - สมใจ ทิพย์ชัยเมธา
หนูอ้อกวาดบ้าน - อุไร ฟ้าคุ้ม
เอื้องแซะสีทอง นิยายการ์ตูนชาวเขา - วิชา พรหมจันทน์
อำเภออึกทึก - ดำรงศักดิ์ บุญสู่
2.) กลุ่มเด็กวัย 7-12 ปี (แบ่งตามประเภท เป็นนิทานภาพ กับนิยายเรื่อง)
2.1 กลุ่มนิทานภาพ
16. การ์ตูนประวัติบุคคลสำคัญ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ - พรชมภู ราชทา, รุ่งโรจน์ แสงพันธุ์
ข้าวเขียวผู้เสียสละ - วิริยะ สิริสิงห
เด็กชายผู้ไม่ยอมเปิดหน้าต่าง - กานติ ณ ศรัทธา
ต้นไม้ - จารุพงษ์ จันทรเพชร
ตาอินกับตานา - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
นโมแห่งบ้านไม้ - อรุณ วัชระสวัสดิ์
นางในวรรณคดี - มาลัย
นิทานชาวเขา - สมศักดิ์ ศรีมาโนชน์, สุนทร สุนันท์ชัย
นิยายภาพ 4 เรื่อง 4 รส - เตรียม ชาชุมพร
นิทานภาพพุทธรักษา - ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และคณะ
เปลือกหอยกับความสุข - มานิต ประภาษานนท์, สุธีรา สาธิตภัทร
ผึ้งน้อยในสวน - สิรินทร์ ช่วงโชติ
พระเวสสันดร - ปัณยา ไชยะคำ
ไม่อยากเป็นควาย - สายสุรีย์ จุติกุล, แสงอรุณ รัตกสิกร
"เรณู-ปัญญา" เที่ยวรถไฟ - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ลูกหงส์กตัญญู - พรจันทร์ จันทวิมล
เล่นกลางแจ้ง - ปรีดา ปัญญาจันทร์
สิงหโตเจ้าปัญญา - ถวัลย์ มาศจรัส
สุดสาคร และวีรชนในประวัติศาสตร์ไทย - ประยุต เงากระจ่าง
โสนน้อยเรือนงาม - มล.มณีรัตน์ บุนนาค
หนังสือชุดภาพประกอบคำบรรยาย และหนังสือชุดภาพและการ์ตูน - เหม เวชกร
หนังสือชุดภาพและการ์ตูน - สมควร สกุลทอง และประเทือง มุทิตาเจริญ
หนังสือภาพชุด ภาพวิจิตรวรรณคดี - นายตำรา ณ เมืองใต้
หนังสือภาพประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ - กาญจนาคพันธุ์
2.2) กลุ่มนิทาน/นิยายเรื่อง
เขาชื่อเดช - กาญจนา นาคนันท์
ครูไหวใจร้าย - ผกาวดี
เชียงเหมี้ยง - คำหมาน คนไค
นกกางเขน - หลวงกีรติวิทย์โอฬาร และอร่าม สิทธิสารีบุตร
นิทานคติธรรม - แปลก สนธิรักษ์
นิทานชาดก ระดับประถม ฉบับกรมวิชาการ
นิทานไทย-พระยาอุปกิตศิลปสาร และหลวงศรีอมรญาณ
นิทานพื้นบ้าน - เต็มสิริ บุญยสิงห์
นิทานร้อยบรรทัด-กรมวิชาการ
นิทานสุภาษิต - สามัคยาจารย์สมาคม
นิทานอีสป - พระยาเมธาบดี
นิยายดาว - สิงโต ปุกหุต
พระพุทธเจ้าของฉัน - สันติสุข โสภณศิริ
พ่อแม่รังแกฉัน - พระยาอุปกิตศิลปสาร
เรื่องของม่าเหมี่ยว - สุมาลี
ลูกสัตว์ต่าง ๆ - ขุนสรรคเวทย์, นายกี่ กิรติวิทโยสาร ขุนศึกษากิจพิสัณห์
โลกของหนูแหวน - ศราวก
หนังสือชุดนิทาน - ส.พลายน้อย
หนังสือผจญภัยชุดค้นพบตนเอง (6 เล่ม) - นิคม รายยวา
หนังสือชุด เล่าเรื่องวรรณคดีไทย - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
อาณาจักรปลาทอง - ถนัดกิจ ปิณินทรีย์
อุดมเด็กดี - กีฬา พรรธนะแพทย์
3.) กลุ่มเด็กและเยาวชนวัย 13-18 ปี (แบ่งตามประเภทเป็น กวีนิพนธ์, เรื่องสั้น, นวนิยาย)
3.1) กวีนิพนธ์
ก็พอใจอยากจะรักให้นักหนา - ศักดิ์สิริ มีสมสืบ
คำหยาด - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
นักฝันข้างถนน - วารี วายุ
ใบไม้ที่หายไป - จิระนันท์ พิตรปรีชา
ม้าก้านกล้วย - ไพวรินทร์ ขาวงาม
มีรังไว้รักอุ่น - ศุ บุญเลี้ยง
3.2) เรื่องสั้น
100 ปี เรื่องสั้นไทย - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
คือหญิงอย่างยิ่งนี้ รวมเรื่องสั้นบทกวีเกี่ยวกับผู้หญิง - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว - ท. เลียงพิบูลย์
รวมเรื่องสั้น - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
เรื่องสั้นคัดสรร - เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน - วินทร์ เลียววาริณ
เสาหินแห่งกาลเวลา รวมเรื่องสั้นศิลปินแห่งชาติ - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
3.3) นวนิยาย
ข้าวนอกนา - สีฟ้า
เขี้ยวเสือไฟ - มาลา คำจันทร์
คนข้ามฝัน - ประชาคม ลุนาชัย
คือรักและหวัง - วัฒน์ วรรลยางกูร
คุณชาย - ว. วินิจฉัยกุล
คำอ้าย - ยงค์ ยโสธร
เจ้าพ่อ-เจ้าเมือง - อาจินต์ ปัญจพรรค์
ชีวิตของฉันลูกกระทิง - บุญส่ง เลขะกุล
เชิงผาหิมพานต์ - สุชีพ ปุญญานุภาพ
ดอกไม้บนภูเขา - สองขา
เด็กชายจากดาวอื่น - วาวแพร
เด็กชายชาวเล - พนม นันทพฤกษ์
บึงหญ้าป่าใหญ่ - เทพศิริ สุขโสภา
บูโนคนกลิ่นหญ้า - ภาคภูมิ ศิริอาชาวัฒนา
ปูนปิดทอง - กฤษณา อโศกสิน
ผีเสื้อและดอกไม้ - นิพพาน
พระจันทร์สีน้ำเงิน - สุวรรณี สุคนธา
มหกรรมในท้องทุ่ง - อัศศิริ ธรรมโชติ
เมืองนิมิต - เรียมเอง
ไม้ดัด - โบตั๋น
เรือกับรั้ว - เทพศิริ สุขโสภา
เรื่องเล่าจากดาวดวงหนึ่ง - พิษณุ ศุภ
ลำเนาป่า - ศิเรมอร อุณหธูป
เวลาในขวดแก้ว - ประภัสสร เสวิกุล
องคุลิมาล - สมัคร บุราวาศ
อมตะ - วิมล ไทรนิ่มนวล
แหล่งข้อมูล : วิทยากร เชียงกูล และคณะ, สารานุกรมแนะนำหนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน. -- กรุงเทพฯ : สายธาร, 2544. 360 หน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น