วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

การผลิตหนังสือเสียง

หนังสือเสียง (Audiobook) คือ สื่อที่บันทึกจากหนังสือแบบเรียนหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่นำมาอ่านและบันทึกเสียงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ (1) ผู้พิการทางสายตา (2) ผู้ที่บกพร่องด้านการอ่าน (3) ผู้ต้องการรับรู้เนื้อหาของหนังสือผ่านทางการฟัง ได้มีโอกาสรับรู้ข่าวสารข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น
หนังสือเสียงทั่วไป มักผลิตออกมาในรูปแบบเทปคาสเซ็ทหรือแผ่นซีดี หรือในรูปแบบ MP3 แต่ในปัจจุบัน ได้มีการทดลองผลิตหนังสือเสียงรูปแบบใหม่สำหรับคนตาบอด เรียกว่า หนังสือเสียงระบบเดซี (DAISY-Digital Accessible Information System) ซึ่งมีคุณลักษณะเหมือนหนังสือ แต่อยู่ในรูปแบบของแผ่นซีดี ผู้ฟังสามารถเปิดฟังหน้าใดส่วนใดก็ได้ตามที่ต้องการเหมือนอ่านหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ปกติ
หนังสือเสียงในระบบเดซี สามารถใส่ดรรชนีไว้ในเนื้อหาส่วนต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นชนิดพิเศษค้นหาเนื้อหาส่วนต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในแต่ละบท หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ย่อหน้า บรรทัด หรือแม้แต่ถ้อยคำ
สำหรับประเทศไทย ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติเป็นห้องสมุดที่มีหนังสือเสียงให้บริการแก่ผู้ใช้จำนวนมาก ทั้งหนังสือเสียงที่เป็นเทปคาสเซ็ทและที่อยู่ในรูปของแผ่นซีดี ส่วนในต่างประเทศ ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันและห้องสมุด CNIB ในแคนาดาให้บริการหนังสือเสียงฟรีแก่ผู้ที่บกพร่องด้านการมองเห็น

ภาพรวมกระบวนการผลิตหนังสือเสียง

โปรแกรมสร้างหนังสือเสียงเดซี : โปรแกรมโอบิ (OBI)
โอบิ (Obi) เป็นโปรแกรมของ Daisy Consortium สำหรับสร้างหนังสือเสียงระบบเดซี ซึ่งเป็นโปรแกรมชนิดเปิดเผยรหัส (open source) อนุญาตให้ทุกคน นำไปใช้ได้อย่างเสรีโดยไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์ จึงเหมาะสำหรับแจกจ่ายให้อาสาสมัครนำไปใช้สร้างหนังสือเสียงให้คนตาบอดได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ลองนำไปใช้ดูครับ

ดาวน์โหลดโปรแกรมโอบิ : [Obi 2.6.1_complete_setup.exe (self extracting zip 107 MB]
ดาวน์โหลดวิธีใช้โปรแกรมโอบิ : [คู่มือใช้งานโปรแกรมโอบิ]
ชมคลิป การสร้างหนังสือเสียงด้วยโปรแกรมโอบิ


อ่านเพิ่มเติม :
1. [DAISY สื่อใหม่ สำหรับทุกคน]
2. [หนังสือเสียง ทางเลือกหนึ่งของการอ่าน(ฟัง)หนังสือ]
ภาพประกอบจาก : http://www.lib.ku.ac.th/web/images/stories/database/ebscobooks.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น